การศึกษาแนวทางพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • นฤมล ภูสิงห์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • สุรินทร์ ภูสิงห์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, ข้าราชการครู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของการครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ในจังหวัดชัยภูมิ และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดชัยภูมิ ปีการศึกษา 2566 ทั้ง 4 เขต จำนวน 318 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า Modified Priority Need Index: PNImodified  ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนเชิงรุกของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดชัยภูมิ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก และ ความต้องการจำเป็นเรียงจากมากไปหาน้อย คือ การใช้สื่อและเทคโนโลยี แหล่งเรียนรู้และนวัตกรรมการเรียนรู้ การออกแบบกิจกรรมและจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและการจัดกิจกรรมการเรียน ผ่านกระบวนการคิดและลงมือปฏิบัติ ตามลำดับ

2. แนวทางพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่สำคัญ ได้แก่ ครูควรศึกษาองค์ประกอบของหลักสูตร ให้ครบ ควรนำรูปแบบการเรียนออนไลน์ (Online Learning) มาใช้ร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ ควรออกแบบกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมที่หลากหลาย และเปิดโอกาสให้มีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ควรศึกษาโปรแกรมเกี่ยวกับการเลือกใช้แหล่งเรียนรู้และเทคโนโลยี ประยุกต์ใช้Google Application ให้เกิดความชำนาญ ควรออกแบบเครื่องมือการวัดและประเมินผลที่หลากหลาย ควรพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา โดยการแสวงหาความรู้โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอื่น ๆ มีการเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนร่วมวิชาชีพ การรวมตัวกันเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของตนเองและกลุ่ม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-27