การสร้างแบบสอบถาม หรือ แบบวัด
คำสำคัญ:
การสร้าง, แบบสอบถาม, แบบวัด, คุณภาพเครื่องมือบทคัดย่อ
การวัดทางสังคมศาสตร์จะต้องคำนึงก่อนเสมอว่าจะเก็บข้อมูลด้านใดบ้าง หากเป็นด้านจิตพิสัย (Affective Domain) มักจะนิยมใช้การสอบถาม หรือแบบวัด และอาจจะใช้ควบคู่ไปกับการสัมภาษณ์ (Interview) ดังนั้นผู้สร้างแบบสอบถาม หรือแบบวัดต้องมีความรอบรู้กว้างขวางและลุ่มลึก
ถ้าเป็นการเก็บข้อมูลเพื่อทำวิจัยทางสังคมศาสตร์ ก็ต้องเข้าใจขั้นตอนการสร้างที่เป็นระบบอย่างดี เริ่มต้นจากการนำแบบสอบถาม หรือแบบวัดชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ไปหาความเที่ยงตรง เชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญ หลังจากนั้นจึงนำไปทดลองใช้ (Try out) เพื่อหาค่าอำนาจจำแนก (Discrimination) เป็นรายข้อ ซึ่งต้องทำการทดสอบนัยสำคัญทางสถิติด้วย แล้วคัดเลือกข้อที่เข้าเกณฑ์ ให้มีจำนวนเท่ากับที่กำหนดไว้ ขั้นสุดท้ายจึงนำไปหาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (Reliability) เมื่อดำเนินการครบถ้วนสมบูรณ์เช่นนี้ จึงนำไปเก็บข้อมูลตามเป้าหมายของการทำวิจัย